วันพุธที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2559

ถูกใส่ความ

       

    ตอนนี้ใครที่เคยเจอปัญหาในชีวิต โดนคนรอบข้างใส่ความใส่ร้ายอยู่ตลอดโดยที่ไม่มีความผิดอะไร ลองมองย้อนกลับไปดูตัวเองว่าเคยทำอะไรไว้กับใคร บางคนไม่รู้ตัวหลอกมันเกิดขึ้นจากผลกรรมที่เคยทำมาอดีตชาติ

ตัวอย่างคำถามหนึ่ง
         
         คนที่ไม่มีความผิดเลย แต่ถูกใส่ความทำให้เสียชื่อเสียง เรียกว่ารับผลของกรรมเก่าใช่ไหม คือบุคคลที่ถูกใส่ความจนต้องขึ้นโรงศาลโดยไม่มีความผิดนั้น ชาติก่อนเคยใส่ความคนอื่นใช่หรือไม่ ถ้าเป็นเช่นนั้นการแผ่เมตตาให้คู่กรณี จะทำให้หมดเวรหมดกรรมต่อกันได้หรือไม่ครับ?
   
     เรื่องคนถูกใส่ความ แต่ละรายมีสาเหตุไม่เหมือนกัน มีทั้งเนื่องจากผลของกรรมในอดีต และผลจากการกระทำในปัจจุบันของเขา อย่างกรณีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถูกนางจิญจมาณวิกา ใส่ความว่าทำให้นางท้องนั้น เป็นกรรมเก่าของพระองค์ในอดีตชาติ
   
       เรื่องก็มีอยู่ว่า นางจิญจมาณวิกาคนนี้ เป็นผู้หญิงที่สวยมากคนหนึ่งในเมืองสาวัตถี วันหนึ่งขณะที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้ากำลังเทศน์อยู่ แกเดินแหวกคนเข้ามายืนกลางศาลาแล้วพูดเปรี้ยงออกมาเลย "พระพุทธเจ้าข้า พระองค์นั้นดีแต่สอนคนอื่นทีลูกในท้องนี่กลับไม่สนใจ  ปล่อยให้ดิฉันลำบากอยู่คนเดียว" ทำหน้าตาขึงขังใส่ความว่าพระพุทธองค์ทำแกท้อง นี่ยกตัวอย่าง

     ถามว่ากรรมอะไร เรื่องนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงระลึกชาตฺไปดู แล้วทรงเกิดเป็นฤาษีอาศัยอยู่ในป่าแห่งหนึ่ง มีคนมานับถือมากมาย ต่อมามีฤาษีอีกท่านหนึ่งเข้ามาอยู่ในป่าเดียวกันฤาษีท่านนั้นเก่งมาก ต่อมาฤาษีอีกท่านนั้นเก่งมาก  ฝึกสมาธิได้ผลดี มีฤทธิ์กว่าพระองค์ มีคนมาฝากตัวเป็นลูกศิษญ์มากกว่า

     พระองค์เกิดอิจฉาฤาษีท่านนั้น ก็เลยไปพูดใส่ความว่าฤาษีนั้น มีความประพติไม่ดี  เข้าทำนองเป็นหลวงตาชอบกินไก่วัด ชอบไปยุ่งกับผู้หญิง เคยทำผู้หญิงท้องมาแล้วด้วย เล่าเป็นตุเป็นตะไปเลย  ชาวบ้านเขาก็เชื่อ เลิกนับถือฤาษีท่านนั้น หันมานับถือพระองค์เกือบทั้งหมด เวรนั้นเองติดตามล้างผลาญพระองค์นับชาติไม่ถ้วน ถูกใส่ความมาทุกชาติๆแม้ชาติสุดท้ายตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ก็ยังถูกนางจิญจมาณวิกา ใส่ความว่าทำแกท้อง

     ความอิจฉาริษยา การใส่ความคนอื่นนั้น ผลของกรรม ร้ายแรงนัก ยิ่งไปใส่ความคนดี คนบริสุทธิ์มากเท่าไหร่ ผลของกรรมยิ่งร้ายแรงหนัก อย่างนางจิญจมาณวิกานั้น พอใส่ความเสร็จก็ถูกธรณีสูบทันตาเห็น

     พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราเคยผิดพลาดใส่ความคนดีไว้ตั้งแต่อดีตชาติ ถึงคราวก็ต้องรับผลของกรรมนั้นเหมือนกันพวกเราถ้าถูกใส่ความโดยไม่รู้ตัวอยู่ว่าไม่ได้ทำผิด ทำชั่วอย่างที่เขากล่าวหา ก็ต้องทำใจคิดว่าเป็นกรมเก่าของเราในอดีตชาติให้ใช้ความอดทนเป็นฐานตั้งรับหน้าไว้ก่อน แล้วใช้สติและปัญญาคิดแก้ปัญหาให้หลุดเป้นเปลาะๆไป

     อย่างไรก็ดี ควรระวังไว้ด้วยว่าเหตุปัจจุบันที่เราก่อขึ้นก็เป็นผลให้ถูกใส่ความได้เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น การปล่อยตัวให้จมอยู่ในอบายมุข ได้แก่ การเที่ยวกลางคืน การคบเพื่อนชั่ว แม้ยังไม่ทันทำความชั่ว ก็มีสิทธิ์ถูกใส่ความแล้ว

      ส่วนการจะแผ่เมตตาให้คู่กรณีนั้น สมควรทำ เพราะได้ประโยชน์แก่ตัวเองก่อนแน่นอน คือพอแผ่เมตตาออกไปแล้ว ใจจะกว้างขวาง ไม่คิดอาฆาตพยาบาทใคร เพราะฉะนั้นทุกครั้งหลังนั่งสมาธิประจำวัน ใจผ่องใสดีแล้ว ให้นึกแผ่เมตตาแก่สรรพสัตว์ทั้งหลายให้เคยชินเป็นนิสัย พอได้นิสัยอย่างนี้แล้วใครจะใส่ความอย่างไรก็ไม่สะทกสะท้าน มีสติปัญญาหาทางแก้ไขความเข้าใจผิดของใครๆให้ลุล่วงไปได้

                                                                                     จากหนังสือ:หลวงพ่อ ตอบปัญหา
                                                                                     พระภาวนาวิริคุณ (เผด็จ ทัตตชีโว)

                                                                                                                       (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่มที่70 หน้า221)








วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2559

คุณเชื่อหรือไหม


าปบุญมีจริงหรือ

คำถาม: คนที่่ไม่เชื่อเรื่องบาปบุญว่ามีจริง  ซ้ำยังกล่าวว่าคนที่เชื่อนั้นงมงาย เขายกเหตุผลมาชี้ว่า คนที่ฆ่าคนตาย ถ้าบาปมีจริง ทำไมจึงไม่ได้รับการฆ่าอย่างเดียวกันและฉับพลันล่ะ เพราะฉะนั้นเขาจึงไม่เกรงกลัว  บาปกรรม และยังถามว่าบาปกรรมหน้าตาเป็นอย่างไร จะตอบเขาว่าอย่างไรดีคะ?

ตอบ: ไปบอกคนที่ไม่เชื่อเรื่องบาปบุญคนนั้นว่า ถ้าอยากจะเห็นตัวบาปชัดๆ ว่าหน้าตาเป็นอย่างไร ก็มีวิธีดูง่ายๆ คือให้ไปดูที่หน้ากระจกเงา หน้าที่เห็นในกระจกนั้นแหละตัวบาปละ
         
          ส่วนตัวคุณโยมเองก็ควรรู้ความจริงว่า ไม่ว่าบาปไม่ว่าบุญ กว่าจะออกผลต้องใช้เวลาพอสมควร เหมือนปลูกกล้วยวันนี้ ถามว่าพรุ้งนี้จะได้กินกล้วยไหม? ตอบว่าไม่ได้ ต้องรออีกเป็นเดือนๆ บางทีเกือบปีจึงจะได้กินกล้วย เช่นกันทำความดีวันนี้จะให้สังคมยอมรับ หรือทำให้ลาภผลอะไรเกิดขึ้นต้องรออีกเป็นปี ต้องรอด้วยกันทุกคน แต่ที่จะได้ทันทีคือผลที่เกิดขึ้น ภายในใจของผู้กระทำความดีได้ในลักษณะเป็นความเชื่อใจสบายใจ ทำปุ๊บได้ปั๊บเลยทีเดียว 
        
          บาปก็เช่นเดียวกัน ทำบาปปุ๊บก็ได้ผลปั๊บเหมือนกัน คือใจขุ่นมัว แล้วกว่าผลบาปเต็มๆจะตามมาทัน ก็ต้องรอเวลาอีกช่วงหนึ่งเหมือนกัน ธรรมดามันเป็นเช่นนี้ ฉะนั้นคนที่มักง่ายไม่ตรองอะไรจริงๆจังๆ ไม่ละเอียดสุขุมรอบคอบก็เลยมักจะทึกทักเอาว่า บาปไม่มี
         
          คนส่วนมากในโลกนี้เมื่อเวลาคนอื่นทำชั่ว ก็อยากให้เขาได้รับผลชั่วทันที ซึ่งก็ดีเหมือนกัน สมมุตินะ ถ้าพอใครโกหกปุ๊บให้ฟันหักหมดปากปั๊บเลย สงสัยที่นั่งกันอยู่ตรงนี้คงไม่มีใครเหลือฟันสักซี่ แต่ส่วนมากไม่เป็นอย่างนั้น เวลาตัวเองโกหกปุ๊บ สาธุ ขอเราอย่าเพิ่งฟันหักเลย นี่คือเรา
         
           พอทำความดีปุ๊บ อยากจะได้ดีทันที อยากให้คนเขายกย่องเชิดชู อยาได้ยศถาบรรดาศักดิ์ได้ลาภได้ผล อยากให้ได้ทันทีแต่เวลาคนอื่นเขาทำความดีกลับบอกว่า รอก่อน อย้่าเพิ่งได้ดีเลยนะ เดี๋ยวจะแซงข้าไป คิดกีดกันคนอื่นไปเสียโน่น
           
           คุณโยม อะไรมันจะแซงหรือไม่แซงก็ช่างมันเถอะนะ ตั้งใจทำความดีของเราเรื่อยไป แล้วจะได้ดีเอง ความชั่วก็เหมือนกัน ทำเองก็จะได้ทุกข์ต้องโทษทัณฑ์เอง ยมบาลไม่ต้องมาตัดสินก็ได้ชั่วเอง
           
           ขอฝากพวกเราไว้นะว่า เราเกิดมาในชาตินี้มีหน้าที่เพื่อมากลั่นขันธ์ทั้ง ๕ กลั่นธาตุทั้ง ๖ ให้ใสสะอาดบริสุทธิ์ขึ้น ในระยะที่ยังไม่หมดกิเลส ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ ก็กลั่นให้มีผล เป็นความสุขกายสุขใจ ไม่ต้องทุกข์กายทุกข์ใจ กลั่นธาตุกลั่นขันธ์ด้วยศีล ด้วยสมาธิ ด้วยปัญญาให้ดีนะ

                                                                                     จากหนังสือ:หลวงพ่อ ตอบปัญหา
                                                                                     พระภาวนาวิริคุณ (เผด็จ ทัตตชีโว)

วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2559

5 ห้องชีวิต บทที่ 2


1. ห้องนอน คือ ห้องมหาสิริมงคล 
      ถ้าถามว่าห้องนอนคือห้องอะไรกันแน่ บางท่านอาจตอบว่า ในเมื่อตั้งชื่อว่าห้องนอน มันก็ต้องใช้นอนน่ะสิ ถ้าอย่างนั้นตอบดูเบาไป
ห้องนอน คือ ห้องสำหรับพัฒนานิสัยรักบุญกลัวบาป

หน้าที่หลักของห้องนอนมีอะไรบ้าง

1) ห้องนอนเป็นห้องสำหรับการปลูกฝังสัมมาทิฐิ
 
       การสอนลูกหลานให้รู้จัก ดี ชั่ว บุญ บาป อย่างชนิดฝังใจ จะอยู่ที่ห้องนอนนี้ เพราะโดยทั่วไปช่วงก่อนนอนเป็นช่วงที่อารมณ์ดีที่สุด การสอนลูกหลานให้มีความเคารพในพระรัตนตรัย ต้องฝึกจากห้องนอน โดยทั้งพ่อทั้งแม่กราบพระพุทธรูปด้วยกัน รำลึกถึงคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยกัน

      การสอนลูกให้กราบเท้าพ่อแม่ก็ฝึกจากห้องนอน เพราะเมื่อลูกกราบ พ่อแม่ก็ให้พร ความอบอุ่นใจก็เกิดขึ้นก่อนนอน ทำให้ปลูกฝังความกตัญญูกตเวทีลงไปในใจได้โดยง่าย

2) ห้องนอนเป็นห้องสำหรับฝึกสัมมาสมาธิ(Meditation)ให้ใจตั้งมั่นอยู่ในศูนย์กลางกายเป็นปกติ

      พ่อ แม่ ลูก จะนั่งสมาธิ ก็นั่งในห้องนอน กลั่นใจให้บริสุทธิ์ก่อนนอน ทำอย่างนี้ หยุดจึงเป็นตัวสำเร็จได้ เข้าถึงพระธรรมกายในตัวได้ง่าย ทำให้มีกำลังใจในการสร้างบารมีไปให้ถึงที่สุดแห่งธรรม ตามที่พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำบอกเอาไว้


2.ห้องน้ำ คือ ห้องมหาพิจารณา


       ตื่นเช้าขึ้นมา เมื่อเราออกจากห้องนอน ก็จะไปห้องน้ำ
       ห้องน้ำเป็นห้องมหาพิจารณา คือ ฝึกคิดให้ตรงตามความเป็นจริงของโลกและชีวิต เพราะห้องนอนหรือห้องอื่น ๆ เช่น ห้องครัว ห้องทำงาน เวลาจะใช้ สามารถใช้พร้อม ๆ กันได้หลายคน ยิ่งห้องครัวด้วยแล้ว หลายคนล้อมโต๊ะกินข้าวกัน แต่ห้องน้ำใช้ได้ทีละคนเท่านั้น จึงมีเวลาที่จะพิจารณาตัวเองมาก
หน้าที่หลักของห้องน้ำมีอะไรบ้าง
       
1) เป็นที่พิจารณาความไม่งามของร่างกาย       พิจารณาอายุของเราที่ผ่านไปแต่ละวันแต่ละคืนก็ตรงนี้ แล้วความหลงตัวเองก็จะหมดไป ความเคียดแค้นชิงชังใครก็จะไม่มี
       
2) เป็นที่พิจารณาความเสื่อมโทรมของร่างกายที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
       3) เป็นที่พิจารณาความเป็นรังแห่งโรคของร่างกาย
       
ห้องน้ำเป็นห้องพิจารณาความมีโรคภัยไข้เจ็บของเรา ที่สำคัญที่สุด ห้องน้ำเป็นห้องสำหรับรักษาสุขภาพอย่างดี


ห้องน้ำ


3.ห้องแต่งตัว (ห้องมหาสติ)
 
คำนิยามที่แท้จริง ห้องแต่งตัว คือ ห้องพัฒนานิสัยตัดใจและใฝ่บุญ
 
หลักธรรมประจำห้องแต่งตัว สัมมาสติ
 
หน้าที่หลักของห้องแต่งตัว
           1) ใช้ในการปลูกฝังสัมมาสติ คือ ฝึกประคองรักษาใจให้ผ่องใสเป็นปกติ ไม่ปล่อยใจไปตามอำนาจกิเลส
 
           2) ฝึกให้มีความระมัดระวังตนในทุก ๆ เรื่อง ไม่ประมาทเผอเรอ มีความตื่นตัวตลอดเวลา
 
               3) ฝึกตัดใจไม่คิดหมกมุ่นในกาม ตามแฟชั่นหรือกระแสสังคม
        4) ฝึกใช้เหตุผลตักเตือนใจของตนให้เป็นสัมมาทิฐิและสัมมาสังกัปปะ ไม่ให้เกิดความลำเอียง และสูญเสียศีลธรรมประจำใจ
 
 
ห้องแต่งตัว 
 

 
ความรู้ประจำห้องแต่งตัว 
           1) แต่งตัวเพื่อปกปิดอวัยวะที่ก่อให้เกิดความละอายและเป็นที่อุจาดตา
           2) แต่งตัวเพื่อป้องกันอันตรายจากความร้อนและความหนาว สัตว์ และแมลง
           3) เลือกแต่งตัวให้เหมาะสมทุกสถานที่ ไม่ชวนให้โจรผู้ร้ายปล้นจี้หรือฉุดคร่าไปทำร้ายทางเพศ
           4) ใช้เครื่องแต่งตัวให้เหมาะสมกับฐานะ ไม่ตกเป็นทาสเสื้อผ้าเครื่องแต่งตัวตามกระแสสังคม
           5) ไม่สนับสนุนให้เด็กหมกมุ่นในกามด้วยการแต่งหน้าก่อนวัยอันควร อันนำไปสู่ปัญหามากมายในภายหลัง
 
ประโยชน์จากการใช้ห้องแต่งตัวอย่างถูกต้อง
             1) ทางใจ
               1.1) ตัดใจไม่ให้หลงในลาภ ยศ สรรเสริญ สุข
 
               1.2) ตัดใจไม่ให้มัวเมาในความเป็นหนุ่มเป็นสาว ในความไม่มีโรค ในความมีอายุยืน
               1.3) ตัดใจไม่ฟุ้งเฟ้อ ไม่สุรุ่ยสุร่าย
 
               1.4) ตัดใจสร้างบุญกุศลเป็นประจำ เช่น การทำทาน การรักษาศีล การเจริญ ภาวนา เป็นต้น
               1.5)ไม่ตกเป็นทาสอบายมุข
 
             2) ทางกาย
               2.1) รู้จักการให้เกียรติเคารพสถานที่
 
               2.2) รู้จักมารยาทในการเข้าสังคม
               2.3) รู้จักการวางตัวได้อย่างเหมาะสมตามภาวะและฐานะที่ตนเป็น
 
               2.4) มีความตื่นตัวและกระตือรือร้นในการคิดดี พูดดี และทำดีอยู่เสมอ


4.ห้องอาหาร (ห้องมหาประมาณ)
คำนิยามที่แท้จริง ห้องอาหาร คือ ห้องพัฒนานิสัยรู้ประมาณในการพูด และการใช้ทรัพย์
 
หลักธรรมประจำห้องอาหาร สัมมาวาจา และสัมมากัมมันตะ
 
หน้าที่หลักของห้องอาหาร

        1) เป็นที่ประชุมสมาชิกทุกคนในบ้านอย่างพร้อมหน้าพร้อมตาทุกวัน

          2) ใช้ปลูกฝังสัมมาวาจาและสัมมากัมมันตะให้แก่สมาชิกทุกคนในบ้าน

          หากสมาชิกในครอบครัวรับ ประทานอาหารไม่พร้อมหน้าพร้อมตากัน จะเกิดปัญหา น้อยเนื้อต่ำใจและปัญหาความแตกแยก แต่หากสมาชิกขาดสัมมาวาจาจะเกิดปัญหากระทบกระทั่งบานปลายใหญ่โต
 
 
ความรู้ที่ต้องมีเกี่ยวกับห้องอาหาร

          1) ห้องอาหาร คือ ห้องที่สมาชิกทั้งบ้านใช้รับประทานอาหารร่วมกัน จึงต้องรักษาความสะอาดให้ดี ไม่ควรเก็บอาหารไว้ในห้องนี้
 
          2) ห้องครัว คือ ห้องสำหรับปรุงอาหารและเก็บอาหารทุกประเภท ต้องรักษาความสะอาดและจัดให้เป็นระเบียบ มิฉะนั้นจะเป็นแหล่งชุมนุมของมด หนู และแมลงต่าง ๆ
 
        3) ห้องรับแขก คือ ห้องที่ใช้ต้อนรับแขกที่มาเยี่ยมเยียนหรือมีธุระสำคัญ จึงเสมือน เป็นหน้าตาของบ้าน ไม่ควรปล่อยให้รกรุงรัง ต้องจัดให้เป็นระเบียบและทำความสะอาดอยู่เสมอ

        4) บ้านใดที่ใช้ห้องอาหารรวมกับห้องรับแขก ควรใช้เครื่องเรือนแบ่งเขต 2 ห้องให้ชัดเจน
 
        5) ควรจัดชุดเก้าอี้รับแขกไว้ตรงประตูทางเข้า และจัดโต๊ะรับประทานอาหารไว้ใกล้ ห้องครัว อีกทั้งควรตกแต่งห้องให้มีบรรยากาศเย็นตา
 
         6) ควรจัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้ของห้องครัว ห้องอาหาร ห้องรับแขก ให้พร้อมและสะอาด มีครบตามจำนวนสมาชิกในครอบครัว
 
         7) ควรจัดเตรียมวัตถุดิบและเครื่องปรุงให้ครบตามความจำเป็น และเพียงพอกับคนในบ้าน
 
         8) ควรฝึกอบรมสมาชิกในบ้านให้รู้จักช่วยกันทำครัวตั้งแต่เยาว์วัยเพื่อฝึกความสามัคคี
 
         9) ควรฝึกสมาชิกในบ้านให้รู้จักวิธีการถนอมอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย
 
ประโยชน์จากการใช้ห้องอาหารอย่างถูกต้อง
       1) ทางใจ
             1.1) รู้จักประมาณในการรับประทานอาหาร คือ ระลึกอยู่ว่าเรารับประทานอาหารเพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ จะได้นำเรี่ยวแรงไปทำความดี
               1.2) รู้จักประมาณในการใช้ทรัพย์ คือ รู้จักการกำหนดรายจ่ายให้น้อยกว่ารายได้ จะได้มีทรัพย์เหลือเก็บไว้ใช้ในคราวจำเป็น และใช้บริจาคสร้างบุญกุศลอันเป็นหนทางไปสู่สุคติในสัมปรายภพ
               1.3) รู้จักประมาณในวาจา คือ การใช้คำพูดที่นุ่มนวล มีเหตุผล มีประโยชน์ เหมาะแก่กาลเทศะในสถานการณ์ต่าง ๆ
       2) ทางกาย
             2.1) ใช้ห้องอาหารสำหรับประกอบอาหาร
                2.2) ใช้เป็นที่ประชุมสมาชิกพร้อมหน้าพร้อมตา
                2.3) ใช้ห้องอาหารเป็นที่รับประทานอาหาร
                2.4) ใช้ห้องอาหารเป็นที่เก็บอาหาร
                2.5) ใช้ห้องอาหารเป็นที่ต้อนรับแขก
 

5.ห้องทำงาน (ห้องมหาสมบัติ)
 
คำนิยามที่แท้จริง ห้องทำงาน คือ ห้องพัฒนานิสัยใฝ่ความสำเร็จ
 
หลักธรรมประจำห้องทำงาน สัมมาอาชีวะและสัมมาวายามะ
 
หน้าที่หลักของห้องทำงาน
            1) ใช้ในการปลูกฝังสัมมาอาชีวะ ไม่หารายได้จากการทำผิดศีลธรรม ผิดกฎหมาย ผิดจารีตประเพณี
           2) ใช้ปลูกฝังวินัยประจำห้องทำงาน 6 ประการ
                 2.1) มีสัมมาวาจา ใช้คำพูดได้เหมาะสม
                    2.2) มีความเคารพในบุคคล สถานที่ เหตุการณ์
                 2.3) มีมารยาทดี เหมาะแก่บุคคลและกาลเทศะ
                 2.4) มีความรับผิดชอบทั้งส่วนตัวและส่วนรวม
                 2.5) เคร่งครัดต่อระเบียบวินัยในการทำงาน
                 2.6) เอาใจใส่ดูแลอุปกรณ์ต่าง ๆ ในห้องทำงาน

ห้องทำงาน
5 ห้องชีวิต เนรมิตนิสัย
 
ความรู้เกี่ยวกับห้องทำงาน
 
         1) เลือกประกอบสัมมาอาชีพที่ไม่ผิดศีลธรรม ไม่ผิดกฎหมาย ไม่เกี่ยวกับอบายมุข ไม่ก่อให้เกิดมิจฉาทิฐิ
         2) ทำเลที่ประกอบอาชีพต้องสอดคล้องกับชุมชนและสิ่งแวดล้อม เพื่อความเหมาะสม ในการทำงาน และเพื่อความสำเร็จในอาชีพ
         3) ห้องทำงานต้องเหมาะสมกับจำนวนบุคลากร และชนิดของงาน
         4) การตกแต่งต้องสะดวกในการทำงาน สะอาด ถูกสุขอนามัย มีความปลอดภัย ไม่มีภาพลามกอนาจาร
         5) อุปกรณ์เครื่องใช้ในแต่ละห้องต้องเพียงพอ จัดเก็บเป็นระบบ เพื่อให้เกิดความคล่องตัว
         6) ใช้อุปกรณ์อย่างถูกวิธี และหมั่นดูแลรักษา จะได้มีไว้ใช้งานได้นาน ๆ หากเกิด ชำรุดเสียหายต้องรีบซ่อมแซม
         7) มีกุศโลบายในการสนับสนุนคนดี แก้ไขคนโง่ คัดคนพาลออก 
ประโยชน์จากการใช้ห้องทำงานอย่างถูกต้อง
 
          1) ทางใจ
                         1.1) สามารถใช้สติปัญญาในการประกอบอาชีพได้ประสบผลสำเร็จด้วยดีตาม เป้าหมาย
                 1.2) มีโอกาสเพิ่มบุญกุศลให้ตนเองเป็นนิจ
                 1.3) แสวงหาความรู้ เพิ่มพูนปัญญาทางโลกและทางธรรม จะได้ไม่ต้องก่อเวร ก่อภัยกับใครทั้งสิ้น
          2) ทางกาย
                 2.1) ใช้เพิ่มปัญญาในการประกอบสัมมาอาชีพ
                         2.2) ใช้พัฒนาความชำนาญในการทำงาน
                 2.3) ใช้ฝึกนิสัยมีวิริยอุตสาหะในการทำงาน
                         2.4) ใช้เพิ่มพูนทรัพย์ เป็นทางมาแห่งมหาสมบัติ

วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2559

5 ห้องชีวิต

    
 เรามารู้เกี่ยวกับ 5 ห้องชีวิต กันเถอะ

5 ห้องชีวิต คือ เป็นการฝึกคุณธรรมในตัวเรา ให้รู้จัก
 ความดีพื้นฐานสากล 5 ประการ  คือ คุณลักษณะพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนต้องมี เพื่อพัฒนาตนเองให้มีคุณภาพ และพัฒนาสังคมให้มีความเจริญงอกงาม และอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข โดยคุณลักษณะเหล่านี้จะต้องฝึกฝนเป็นประจำทุกวันจนเป็นนิสัย ผ่านห้องต่างๆ ในชีวิตประจำวัน 5 ห้อง คือ (1) ห้องนอน (2) ห้องน้ำ (3) ห้องแต่งตัว (4) ห้องอาหาร (5) ห้องทำงานหรือห้องเรียน
ความดีพื้นฐานสากล 5 ประการ ( Global Merit 5 )

   1. ความสะอาด  หมายถึง  ปราศจากสิ่งแปลกปลอม  อันจะทำให้เสียคุณภาพ

   2. ความเป็นระเบียบ  หมายถึง  เป็นไปในทิศทางเดียวกัน  ถูกลำดับ  เป็นแถว  เป็นแนว ไม่ขัดขวาง  ไม่สับสน

     3. ความสุภาพ  หมายถึง  ความสามารถในการควบคุมกิริยาทางกาย  วาจาให้เป็นปกติ  ไม่ทำให้ผู้อื่นเกิดความรู้สึกในทางไม่ดี

     4. ความตรงต่อเวลา   หมายถึง   ความสามารถในการควบคุมตนเอง ในการ เริ่ม  ทำ   เลิกงานให้เป็นไปตามที่กำหนด

     5. การมีสมาธิ(Meditation)  หมายถึง  ความสามารถในการควบคุมจิตใจ  อารมณ์ให้ตั้งมั่นเป็นหนึ่ง  เพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์ผ่องใสขึ้นจากภายใน

      ความดีพื้นฐานสากล 5 ประการ หากเราฝึกอยู่เป็นประจำจะทำให้เรามีพื้นฐานเบื้องต้น ที่จะพัฒนาตนเองนำไปสู่การเป็นผู้ที่ยึดมั่นในพระรัตนตรัย ทำให้เรามีจิตใจที่ผ่องใส และจะทำให้เรามีนิสัยบัณฑิตที่มีคุณภาพชีวิตขั้นพื้นฐานที่ดีต่อไป

*พรุ่งนี้เรามาเรียนรู้เกี่ยวกับ 5 ห้องชีวิต กันต่ออีก*


สมาธิ



 หลับตาทำสมาธิ(Meditation)กันนะลูกนะ การปฏิบัติธรรมเป็นภารกิจหลักที่จะต้องทำ เพราะการปฏิบัติธรรมจะทำให้เราเข้าถึงวัตถุประสงค์หลักของชีวิต นั่นคือการขจัดกิเลสอาสวะให้หมดสิ้นไป เมื่อความโลภความโกรธความหลงไม่มีอยู่ในใจ ธาตุธรรมของเราก็จะสะอาดบริสุทธิ์ผ่องใส เป็นธาตุล้วน ๆ ธรรมล้วน ๆ ความสุขที่ไม่มีประมาณก็จะเกิดขึ้น เป็นความสุขที่ไม่มีอะไรเสมอเหมือน ที่พระพุทธเจ้าท่านใช้คำว่า “บรมสุข” คือ สุขกว่าความสุขที่เราเคยพบเจอมาตลอดชีวิต เป็นความสุขที่เรายอมรับว่า เป็นความสุขแท้จริง สุขทั้งวันทั้งคืน ทั้งหลับทั้งตื่น ทั้งนั่งนอนยืนเดิน สุขอยู่ตลอดเวลา ไม่มีความทุกข์เจือปนเลย

      หมดกิเลสเมื่อไรก็หมดกรรม เมื่อหมดกรรมก็หมดวิบาก การเวียนว่ายตายเกิดก็สิ้นสุด เพราะฉะนั้นการขจัดกิเลสอาสวะให้หมดสิ้น จึงเป็นวัตถุประสงค์หลักของชีวิต



คำสอนหลวงพ่อธัมมชโย
โอวาทคำสอนหลวงพ่อธัมมชโย

ความดี

เมื่อระลึกถึงความดีที่เราทำ กระแสธารแห่งบุญก็จะไหลผ่านใจ ขจัดสิ่งที่เป็นมลทินในใจ ความเศร้า ซึม เซ็ง เครียด เบื่อ กลุ้ม อะไรต่างๆก็จะหมดสิ้นไป เพียงแค่เรามั่นทำความดี นึกถึงบ่อยๆ ใจก็รู้สึกสบาย